เมนู

ข้อว่า อตฺถิ เจตฺถ เจตนา อุปลพฺภติ มีความว่า ก็ความจงใจ
ยินดีในความฝัน มีอยู่ คือหาได้อยู่.
ข้อว่า อตฺเถสา ภกฺขเว เจตนา สา จ โข อพฺโพหาริกา
มีความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เจตนาเป็นเหตุยินดี นี้ มีอยู่ , แต่
เจตนานั้นแล ชื่อว่า เป็นอัพโพหาริก คือ ไม่เป็นองค์แห่งอาบัติ เพราะ
บังเกิดในฐานอันไม่ใช่วิสัย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่เจตนาในความฝันเป็น
อัพโพหาริก ด้วยประการอย่างนี้แล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบทพร้อมทั้ง
อนุบัญญัติว่า ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แล เธอทั้งหลาย พึงสวดสิกขาบทนี้
อย่างนี้ว่า การปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน เป็น
สังฆาทิเสส ดังนี้.

[อธิบายสิกขาบทวิภังค์ ว่าด้วยสัญเจตนิกาศัพท์]


ในสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- เจตนาแห่งการปล่อย
สุกกะนั้น มีอยู่; เหตุนั้น การไปล่อยสุกกะนั้น จึงชื่อว่า สัญเจตนา
(มีเจตนา), สัญเจตนานั่นแหละชื่อสัญเจตนิกา. อีกอย่างหนึ่ง ความจงใจ
ของการไปล่อยสุกกะนั้น มีอยู่; เหตุนั้น การปล่อยสุกกะนั้น จึงชื่อว่า
สัญเจตนิกา (มีความจงใจ). การไปล่อยสุกกะมีความจงใจ เป็นของ
ภิกษุใด, ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ คิด รู้สึกตัว, และการไปล่อยสุกกะนั้น ของ
ภิกษุนั้น เป็นการแกล้ง คือ ฝ่าฝืนล่วงละเมิด; เพราะเหตุนั้น เพื่อ
แสดงแต่ใจความเท่านั้น ไม่ทำความเอื้อเฟื้อในพยัญชนะ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า สญฺเจตนิกา นั้น อย่างนี้ว่า อาการ
ที่รู้ คือ รู้สึก แกล้ง คือ ฝ่าผื่น ล่วงละเมิด (ชื่อว่ามีความจงใจ).